หน่วยที่ 1 ความรู้และการคิดเชิงออกแบบเพื่อการแก้ปัญหา

เทคโนโลยีในปัจจุบัน ถูกคิดค้นขึ้นจากสาเหตุใด ?

1. ความต้องการของมนุษย์ในการใช้ชีวิต

  • ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและคมนาคม เช่น โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม อินเทอร์เน็ต รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้าใต้ดิน เครื่องบิน

  • ต้องการความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตส่วนตัว เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับ อากาศ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องดูดฝุ่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ตู้ATM ตู้บริการเครื่องดื่มอัตโนมัติ เครื่องจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์

  • ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนหรือการทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนบัตรนักเรียน ระบบยืม-คืนหนังสือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

  • ต้องการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิต เช่น กล้องวงจรปิด ระบบตัดไฟฟ้า อัตโนมัติ อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟในอาคาร สัญญาณกันขโมย

2. ข้อจำกัดทางกายภาพหรือสภาพแวดล้อม

  • ความจำเป็นในการใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น เฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์ การจัดการพื้นที่จอดรถใต้ดินหรือพื้นที่จอดรถหลายชั้น

  • ความจำเป็นในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) กังหันลมผลิตไฟฟ้า ระบบบำบัดน้ำเสีย กังหันน้ำชัยพัฒนา ยานยนต์อนุรักษ์พลังงาน


  • ในการสร้างเทคโนโลยีที่ตอบสนองได้ตรงความต้องการ ของผู้ใช้ ผู้สร้างเทคโนโลยีจะทราบความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างไร

  • 1. การสัมภาษณ์ (interview)

    • ซึ่งอาจเป็นการสัมภาษณ์โดยตรงหรือผ่านช่องทางการสื่อสาร อื่น เช่น สื่อสังคมออนไลน์ โดยคำถามที่ใช้ต้องขัดเจน ตรงประเด็น และมีลักษณะเป็นคำถามปลาย

    • เปิด สามารถรวบรวมข้อมูลที่ไม่จำกัดคำตอบและได้ผลการสัมภาษณ์ทันที การสัมภาษณ์มักนิยมใช้ในการวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือความรู้สึก

  • 2. การสำรวจ (survey)

    • ทำโดยสร้างแบบสำรวจที่กำหนดคำถามเพื่อค้นหาข้อมูลหรือความเห็นที่ต้องการ เช่น การสำรวจความพึพอใจของผู้ใช้งานเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม

  • 3. การสังเกต (observe)

  • ป็นวิธีที่ใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์ สถานการณ์ หรือพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น การสังเกตพฤติกรรมการทิ้งขยะของนักเรียน


นักเรียนคิดว่า เทคโนโลยีส่งผลทางด้านบวก ด้านลบ ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของนักเรียน ครอบครัว หรือ ชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่อย่างไร ?

ผลกระทบด้านบวก

1. เทคโนโลยีช่วยเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงาน มีการประยุกต์ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และสถานที่หรือจุดให้บริการต่าง ๆ เช่น ตู้ ATM หรือ เครื่องจำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ


2. เทคโนโลยีช่วยเพิ่มช่องทางในการสื่อสารและการรับรู้ข่าวสาร เช่น การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตสมาร์ทโฟน สมาร์ททีวี ทำให้เกิดการกระจายข้อมูลไปทั่วทุกหนแห่งได้โดยง่าย รวมทั้งถิ่นทุรกันดา ทำให้มีการกระจายโอกาสในการเรียนรู้ผ่านระบบสื่อสารทางไกล


3. เทคโนโลยีช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง เช่น การโดยสารเครื่องบินหรือรถไฟฟ้าที่สามารถช่วย ให้ผู้รับบริการเดินทางถึงที่หมายได้เร็วกว่าการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล


ผลกระทบด้านลบ

1. เทคโนโลยีลดความสำคัญและโอกาสในการสื่อสาร ระหว่างบุคคลในชีวิตประจำวัน เช่น การสื่อสารผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลแทนการพูดคุยระหว่างบุคคลในชีวิตจริง


2. หากข้อมูลที่สื่อสารหรือเผยแพร่ดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ หรือก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้อื่นย่อมก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้นในเวลาอันรวดเร็วและมีผลอย่างกว้างขวาง


3. ความต้องการใช้บริการเครื่องบินหรือรถไฟฟ้าที่มากขึ้น จึงต้องใช้พลังงาน หรือเชื้อเพลิงเพื่อการทำงานที่มากขึ้นด้วย ซึ่งมีผลต่อการหาแหล่งพลังงานมาใช้และผลกระทบจากการใช้พลังงาน